วันอังคารที่ 30 สิงหาคม พ.ศ. 2554

งานเดือนสิบ

ประเภณีสารทเดือนสิบ

ประเพณีสารทเดือนสิบ เป็นงานบุญประเพณีของคนภาคใต้ ของประเทศไทย โดยเฉพาะชาวนครศรีธรรมราช ที่ได้รับอิทธิพลด้านความเชื่อซึ่งมาจากทางศาสนาพราหมณ์โดยมีการผสมผสานกับความเชื่อทางพระพุทธศาสนา ซึ่งเข้ามาในภายหลัง โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อเป็นการอุทิศส่วนกุศลให้แก่ดวงวิญญาณของบรรพชนและญาติที่ล่วงลับ ซึ่งได้รับการปล่อยตัวมาจากนรกที่ตนต้องจองจำอยู่เนื่องจากผลกรรมที่ตนได้เคยทำไว้ตอนที่ยังมีชีวิตอยู่ โดยจะเริ่มปล่อยตัวจากนรกในทุกวันแรม 1 ค่ำเดือน 10 เพื่อมายังโลกมนุษย์โดยมีจุดประสงค์ในการมาขอส่วนบุญจากลูกหลานญาติพี่น้อง ที่ได้เตรียมการอุทิศไว้ให้เป็นการแสดงความกตัญญูกตเวทีต่อผู้ล่วงลับ หลังจากนั้นก็จะกลับไปยังนรก ในวันแรม 15 ค่ำ เดือน 10
ช่วงระยะเวลาในการประกอบพิธีกรรมของประเพณีสารทเดือนสิบจะมีขึ้นในวันแรม 1 ค่ำถึงแรม 15 ค่ำเดือนสิบของทุกปีแต่สำหรับวันที่ชาวใต้มักจะ นิยมทำบุญกันมากคือวันแรม 13-15 ค่ำ ประเพณีวันสารทเดือนสิบโดยในส่วนใหญ่แล้วจะตรงกับเดือนกันยายน

งานเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช

              งานเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช ๒๕๕๐ เทิดไท้ ๘๐ พรรษามหาราชา  วิถีไทย หัวใจแผ่นดิน  จังหวัดนครศรีธรรมราช ร่วมกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชน กำหนดจัดงานงานเดือนสิบเมืองนครศรีธรรมราช ๒๕๕๐ เทิดไท้ ๘๐ พรรษามหาราชาขึ้น ในระหว่างวันที่ 5 – 14 ตุลาคม 2550 ณ บริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร และบริเวณสวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ 84 (ทุ่งท่าลาด) และศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช โดยกำหนดให้วันที่ 10 ตุลาคม เป็นวันงานที่ยิ่งใหญ่มีการแห่หมรับถือได้ว่าเป็นหัวใจของงานที่มีสีสันตระการตา ทั้งนี้ เพื่อส่งเสริมงานบุญประเพณีที่เต็มไปด้วยศรัทธาและความยิ่งใหญ่ อีกทั้ง เป็นการแสดงความกตัญญุตาต่อบุพการีและญาติพี่น้องที่ล่วงลับไปแล้ว
องค์พระธาตุนครศรีธรรมราช
องค์พระธาตุนครศรีธรรมราช

งานเดือนสิบ เป็นงานสำคัญในการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่ญาติพี่น้อง ที่ล่วงลับไปแล้ว ด้วยความเชื่อทางพุทธศาสนิกชนในเรื่องกฏแห่งกรรม ผู้ที่สร้างบาปกรรมไว้มาก เมื่อตายไปจะกลายเป็นเปรตทนทุขเวทนาชดใช้บาปกรรมนั้น เมื่อถึงวันสารท ชาวบ้าน จึงจัดสำรับคาวหวานไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์ เรียกกันว่าการทำบุญสารทเดือนสิบ หรือ การยกหฺมฺรับ (อ่านว่ายก-หมับ) การจัดหฺมฺรับไปทำบุญที่วัดนั้น จะประกอบไปด้วยขนม 5 อย่าง ได้แก่
ขนมลา เปรียบเสมือนแพรพรรณเครื่องนุ่งห่ม
ขนมพอง เปรียบเสมือเป็นยานพาหนะให้ผู้ล่วงลับได้ใช้เป็นแพข้ามสู่ภพภูมิใหม่
ขนมกง อุทิศเป็นเครื่องประดับ
ขนมดีซำ อุทิศเป็นเงินเบี้ยสำหรับใช้สอย
ขนมบ้า สำหรับวิญญาณผู้ล่วงลับจะได้ใช้เล่นสะบ้าในวันสงกรานต์

การจัดหฺมรับ หรือ สำรับ นั้น มักจะใช้ภาชนะเป็นกระบุงทรงเตี้ย ๆ ใส่อาหารหวานคาวและของแห้ง และจัดขบวนแห่หฺมฺรับของตนไปที่วัดใกล้ ๆ บ้าน เพื่อที่จะถวายพระสงฆ์ ไปวางรวมกันบริเวณริมกำแพงวัดหรือทางเข้าวัด หรืออาจทำเป็นที่ตั้งสูง ๆ ไว้สำหรับให้ทานเรียกว่า “หลาเปรต” โดยจะมีผู้คนแย่งกันไปเอาขนมที่หลาเปรต เรียกว่า “ชิงเปรต” เพราะมีความเชื่อว่าการกินของที่เหลือจากเซ่นไหว้บรรพชนได้กุศล
การแข่งขันปีนเสาน้ำมัน อีกการละเล่นที่มีให้ชมช่วงงานเดือนสิบ
การแข่งขันปีนเสาน้ำมัน อีกการละเล่นที่มีให้ชมช่วงงานเดือนสิบ
งานเดือนสิบ ได้จัดเป็นครั้งแรกเมื่อปี 2466 ปีนี้เป็นปีที่ 84 โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ ดังนี้ 
- วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ประกอบด้วย
- การจัดตลาดย้อนยุค
- การตั้งเปรต ชิ งเปรต
- ศาลากลางจังหวัดนครศรีธรรมราช ประกอบด้วย
- การแสดงแสงสีสื่อผสม การประชันหนังตุง การสาธิตและประกวดหุ่นเปรต
- สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์
- การประกวดเพลงร้องเรือ
- กลอนสด โนรา เพลงบอก
- การประกวดแข่งขันสาธิตหัตถกรรมพื้นบ้าน
- การประกวดนางสาวนครศรีธรรมราช
- การจัดแสดงวิพิธทัศนา
- การออกร้านการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ OTOP


                  ความเชื่อของพุทธศาสนิกชนชาวนครศรีธรรมราชเชื่อว่าบรรพบุรุษอันได้แ่ก่ ปู่ย่าตายา่ย และญาติพี่น้องที่  ล่วงลับไปแล้ว หากทำความดีไว้เมื่อครั้งที่ยังมีชีวิตอยู่ จะได้ไปเกิดในสรวงสรรค์ แต่หากทำความชั่วจะตกนรกกลายเป็นเปรต ต้องทนทุกข์ทรมานในอเวจี   ต้องอาศัยผลบุญที่ลูกหลานอุิทิศส่วนกุศลให้ในแต่ละปีมายังชีพ ดังนั้นในวันแรม ๑ ค่ำเดือนสิบ คนบาปทั้งหลายที่เรียกว่าเปรตจึงถูกปล่อยตัวกลับมายังโลกมนุษย์ เพื่อมาขอส่วนบุญจากลูกหลายญาติพี่น้องและจะกลับไปนรกในวันแรม ๑ ค่ำเดืิอนสิบโอกาสนี้เองลูกหลานและผู้ที่ยังมีชีวิตอยู่จึงนำอาหารไปทำบุญที่วัด เพื่ออุทิศส่วนกุศลให้แก่ผู้ล่วงลับไปแล้ว เป็นการแสดงกตัญญูกตเวที
      วันสารท เป็นวันที่ถือเป็นคติและเชื่อสืบกันมาว่า ญาติที่ล่วงลับไปแล้ว จะมีโอกาสได้กลับมารับส่วนบุญจากญาติพี่น้องที่ยังมีชีวิตอยู่ ดังนั้น จึงมีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปให้ญาติในวันนี้และเชื่อว่า หากทำบุญในวันนี้ไปให้ญาติแล้วญาติจะได้รับส่วนบุญได้เต็มที่และมีโอกาสหมดหนี้กรรม และได้ไปเกิดหรือมีความสุข อีกประการหนึ่งสังคมไทยเป็นสังคมเกษตรกรรม ทำนาเป็นอาชีพหลักในช่วงเดือน 10 นี้ ได้ปักดำข้าวกล้าลงในนาหมดแล้ว กำลังงอกงาม และรอเก็บเกี่ยวเมื่อสุก จึงมีเวลาว่างพอที่จะทำบุญเพื่อเลี้ยงตอบแทน และขอบคุณสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือแม่พระโพสพ หรือผีไร่ ผีนา ที่ช่วยรักษาข้าวกล้าในนาให้เจริญงอกงามดี และออกรวงจนสุกให้เก็บเกี่ยวได้ผลผลิตมาก
 
ความสำคัญของประเพณีสารทเดือนสิบของชาวนครศรีธรรมราช
     การทำบุญสารทเดือนสิบ  เป็นประเพณีที่ชาวเมืองนครศรีธรรมราชได้ถือปฏิบัติด้วยศรัทธาแต่ดึกดำบรรพ์โดยถือเป็นคติว่าปลายเดือนสิบของแต่ละปี  เป็นระยะที่พืชพันธุ์ธัญญาหารในท้องถิ่นออกผล  เป็นช่วงที่ชาวเมืองซึ่งส่วนใหญ่ยังชีพด้วยการเกษตร  ชื่นชมยินดีในพืชของตน  ประกอบด้วยเชื่อกันว่า ในระยะเดียวกันนี้เปรตที่มีชื่อว่า “ปรทัตตูปชีวีเปรต”  จะถูกปล่อยใหัขึ้นมาจากนรก  เพื่อมาร้องขอส่วนบุญต่อลูกหลานญาติพี่น้อง เหตุนี้ ณ โลกมนุษย์จึงได้มีการทำบุญอุทิศส่วนกุศลไปไห้พ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย พี่น้อง  ลูกหลานที่ล่วงลับไป  โดยการจัดอาหารคาวหวานวางไว้ที่บริเวณวัด  เรียกว่า  “ตั้งเปรต”  ตามพิธีไสยเวทอีกทางหนึ่งด้วย  ซึ่งเรื่องนี้ก็ได้พัฒนามาเป็น “การชิงเปรต” ในเวลาต่อมา
 
วามมุ่งหมายของประเพณีสารทเดือนสิบ
         ประเพณีสารทเดือนสิบ  มีความมุ่งหมายสำคัญอยู่ที่การทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้กับพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย  และญาติพี่น้องผู้ล่วงลับไปแล้ว  แต่ด้วยเหตุที่วิถีชีวิตของชาวนครศรีธรรมราชเป็นวิถีชีวิตแห่งพระพุทธศาสนาในสังคมเกษตรกรรม จึงมีความมุ่งหมายอื่นร่วมอยู่ด้วย
      1)เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศล  ให้กับพ่อแม่  ปู่ย่า  ตายาย  ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นผู้ล่วงลับไปแล้ว
      2) เป็นการทำบุญ ด้วยการเอาผลผลิตทางการเกษตรแปรรูปเป็นอาหารถวายพระสงฆ์   รวมถึงการจัดหฺมฺรับถวายพระในลักษณะของ  “สลากภัต”  นอกจากนี้ยังถวายพระในรูปของผลผลิตที่ยังไม่แปรสภาพ  เพื่อเป็นเสบียงแก่พระสงฆ์ในช่วงเข้าพรรษาในฤดูฝน  ทั้งนี้เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ตนเอง ครอบครัว และเพื่อผลในการประกอบอาชีต่อไป
      3) เพื่อเป็นการแสดงออกถึงความสนุกสนานรื่นเริงประจำปี  เป็นสิ่งที่มีอยู่ในทุกประเพณีของชาวนครแต่ประเพณีนี้มีชื่อเสียงมากที่สุด ได้จัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ทุก ๆ ปี  เรียกว่า  “งานเดือนสิบ”  ซึ่งงานเดือนสิบนี้ได้จัดควบคู่กับประเพณีสารทเดือนสิบ  มาตั้งแต่ พ.ศ. 2466 จนถึงปัจจุบัน
 

สารทเดือนสิบลองเปิดแลกันตะพี่น้อง




อ้างอิง -http://www.thaigoodview.com/library/teachershow/nakhonsithamrat/chutchadaporn_b/satduansib/sec01p3.html